Meaw先生のエッセー「ソンクラーン」
เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของฤดูร้อนในประเทศไทย แต่ถึงแม้จะร้อนมากขนาดไหนแต่ฤดูร้อนก็มีผลไม้อร่อยมากก็คือ มะม่วงหลากหลายชนิด ทั้งมะม่วงกินแบบดิบ(มะม่วงยังเขียวอยู่) และกินแบบสุก (มะม่วงสีเหลือง) มะม่วงแบบสุกนิยมเอามากินกับข้าวเหนียว เรียกว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง”
ช่วงนี้ถ้าไปดูตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นก็อาจจะเจอมะม่วงไทยวางขายอยู่ ราคาลูกละ ๒๙๘ -๕๐๐ เยน มะม่วงไทยรสชาติหวานกลมกล่อมกินคู่กับข้าวเหนียวที่หุงด้วยกะทิเข้ากันมากเวลากิเพลินจนไม่อยากวางช้อน เสริฟ์คู่กับชาเขียวญี่ปุ่นก็ไม่แพ้ขนมมั่นจู่
ถึงแม้ว่าเดือนเมษายนอากาศจะร้อนมากจนทำให้หลายคนไม่อยากไปเที่ยวเมืองไทยในช่วงนี้ แต่เมืองไทยก็ยังมีประเพณีเก่าแก่ที่สนุกสนานช่วยคลายความร้อนได้ คือ การเล่นน้ำ เรียกว่า“สงกรานต์” คนต่างชาติจะเรียกกันว่า “WATER FESTIVAL”
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวขึ้น ย่างขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์เคลื่อนที่เข้าสู่ราศีใหม่ หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางราชการจึงเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคม
วันสงกรานต์ไม่ใช่แต่จะเล่นสาดน้ำกันอย่างเดียว แต่ยังมีกิจกรรมหลายอย่างก่อนที่จะเล่นสาดน้ำกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนวันสงกรานต์ก็จะทำความสะอาดบ้าน เตรียมเสื้อผ้าใหม่ที่จะใส่ไปทำบุญ เตรียมอาหารไปทำบุญ ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแดง และกาละแมเมื่อถึงวันสงกรานต์เริ่มด้วยการตักบาตรตอนเช้า ทำบุญกระดูกให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ(ตายไปแล้ว) สรงน้ำพระพุทธรูป(รดน้ำพระพุทธรูป) บางแห่งก็มีการขนทรายมาก่อเจดีย์ในวัด การปล่อยนก ปล่อยปลา (เพื่อให้ไปสู่ที่อิสระ) การรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเพื่อขอพร หลังจากนั้นก็เล่นรดน้ำกัน(สาดน้ำ) การเล่นน้ำจะเล่นหลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว ก็คือช่วงบ่าย เวลาเล่นน้ำจะใช้ “น้ำอบ”(น้ำหอมไทย)ผสมน้ำสะอาดแล้วรดกันเบาๆ
ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไปหลายคนต้องเข้าไปทำงานในเมือง จึงถือวันสงกรานต์เป็น “วันครอบครัว” ทุกคนจะเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญและพบปะกับครอบครัว และญาติ
ครูเหมียว
4月はタイで最も暑い月です。が、暑くても果物がとてもおいしい月です。その果物は様々な種類のマンゴーです。まだ熟れていないもの(まだ青いもの)、熟れているもの(黄色くなったもの)。熟れたマンゴーは餅米と食べるのが好まれ、「カーオニアオ・マムアン」と言います。
この時期に日本のスーパーでも、タイのマンゴーが売られていることがあります。値段は一個、298〜500円です。タイのマンゴーは程良い甘さでココナッツで炊いた餅米と食べるのが良く合います。一度食べるとスプーンを置きたくないくらいです。日本茶と頂くと、お饅頭にも負けません。
この時期はどこにも行きたくない位暑いのですが、タイにもこの暑さから解放してくれる、古くからある楽しい習慣があります。それは、「ソンクラーン」という水遊びです。外国人は「water festival」とも呼びます。
「ソンクラーン」という言葉はサンスクリットから来たもので、前進する、上昇する、場所を移す、場所を変えるという意味があります。すなわち、太陽の位置が変わり、新しい星座宮に入るのです。新年という意味で、4月13、14、15日に当たります。スコータイの時代から仏歴2483年に国が新年を1月1日に変更するまでソンクラーンは新年でした。
ソンクラーンは水掛けだけではありません。水掛をする前に様々な事柄があります。ソンクラーンの前から始まり、家を掃除したり、タンブンに行く為の新しい服と食事を準備します。ソンクラーンのお菓子、カーオニアオデーンとカーラメーも用意します。ソンクラーンの日になったら、朝の托鉢から始まります。亡くなった先祖にお参りし、仏像に水を掛けます。お寺のチェディーを建てるための砂を運ぶところもあります。他に、鳥や魚を放したり(自由にしてあげるため)、年配の人の手に水を少し掛けて新年の言葉を受けます。その後、水を掛け合って遊びます。水掛遊びは宗教的儀式が終わった後で、午後になります。水掛遊びには「ナムオッブ(タイの香水)」が使われ、清潔な水と混ぜで優しく水を掛けます。
現代では社会も変化し、多くの人が都市部に働きに行きます。それでソンクラーンは「家族の日」でもあります。タンブンをし、家族や親戚に会うために故郷に帰省するのです。
(訳:kaori)