当教室は10周年を迎えました
2010.03.29 [ お知らせ / ご挨拶 ]

お陰様をもちまして、当教室は今年10周年を迎えることができました。これも皆さんの暖かいご支援があってのことです。心より感謝申し上げます。スタッフ一同なお一層の努力して参ります。今後とも何卒よろしくお願い致します。
10周年記念の meaw 先生のエッセイです。


ครบรอบปีที่ ๑๐ ศาลาภาษาไทย

เล่าเรื่อง ศาลาภาษาไทย

สวัสดีค่ะ ยินต้อนรับท่านผู้เข้าเยี่ยมชมเว็ปไซด์ ศาลาภาษาไทย
หลายคนคงมีคำถามว่า “ ศาลาภาษาไทย ” คืออะไร สำหรับคนไทยที่ฟังชื่อนี้แล้ว คงจะจินตนาการว่าน่าจะเป็นร้านอาหารไทยหรือร้านขายสินค้าไทยเพราะทั้้้้งที่เมืองไทยและในญี่ปุ่นมีร้านอาหารไทยหลายร้านที่ใช้ชื่อว่า“ศาลาไทย” ส่วนใหญ่ร้านอาหารไทยที่มีชื่อแบบนี้ก็จะมีการตกแต่งบรรยากาศ ร้านเป็นแบบสวนอาหารและจะต้องมี “ศาลา” เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นที่นั่งรับประทานอาหาร
สำหรับคนญี่ปุ่นคำว่า “ภาษาไทย” นั้นคงไม่ต้องอธิบาย แต่สำหรับคำว่า “ศาลา” นั้นมักจะได้รับคำตอบว่า ศ. ศาลา(พยัญชนะภาษาไทยตัวหนึ่ง) เมื่อได้รับคำตอบเช่นนี้ก็รู้สึกดีใจว่าอย่างน้อยคนญี่ปุ่นมีความสนใจในการเรียนภาษาไทยมาก แต่เมื่อมีความรักในการเรียนภาษาไทย แล้วก็อยากให้เข้าใจวิถีชีวิตคนไทย รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมไทยด้วย
จริงๆแล้วศาลานั้นเป็นสถาปัตยกรรมของไทยที่มีคู่มากับวิถีชิวิตคนไทย แต่โบราณแล้วทั้งสามัญชนธรรมดา และ เจ้านายชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นพระราชวัง , วัด , โรงเรียน , สวนสาธารณะ , โรงพยาบาล , สวนในบ้าน , ทุ่งนา , ชายทะเล , ท่ารถ(ที่ขึ้นรถประจำทางในต่างจังหวัด) , ท่าเรือ ก็สามารถพบเห็นสถาปัตยกรรม ศาลา ได้เกือบทุกแห่งที่กล่าวมาซึ่งแต่ละสถาน ที่ก็จะมีลักษณะรูปร่าง ชื่อเรียกการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยและความนิยม เพราะว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนดังนั้นการสร้างศาลาจึงต้องมีหลังคาเพื่อบังแสงแดด ส่วนรอบตัวศาลาจะเปิดโล่งเพื่อให้รับลมและสามารถมองทัศนียภาพด้านนอกได้
สร้างศาลาเพื่ออะไร ทำไมต้องมีศาลาในสถานที่ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เช่นในพระราชวังก็อาจจะมี ศาลาชมสวน เป็นที่นั่งพักผ่อนหลบร้อนขณะที่ออกไปดูดอกไม้ในสวนของเจ้านาย เป็นที่ศึกษาเล่าเรียน(ห้องเรียน)ของลูกหลานเจ้านายชั้นสูง (เคยดูจากหนังเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์)
ถ้าท่านมีโอกาสได้แวะเข้าไปชมวัดต่างๆในเมืองไทย ก็จะพบว่าไม่มีวัดไหนที่ไม่มีศาลาอาจจะพูดได้ว่าวัดเป็นคู่แฝดกับศาลาก็ว่าได้ ศาลาในวัดนั้นจะใช้เป็นที่สำหรับฟังเทศนา หรือ ประกอบพิธีทางศาสนา จะเรียกว่า “ศาลาการเปรียญ”
ศาลาริมน้ำ ส่วนใหญ่จะสร้างไว้ริมแม่น้ำ , ลำคลอง นอกจากเอาไว้นั่งพักผ่อน หลบร้อนแล้ว ก็ใช้เป็นท่าสำหรับลงเรือ , จอดเรือ
ศาลาริมทาง ส่วนใหญ่จะสร้างไว้ริมทางเดิน ริมถนน มักจะเป็นที่นั่งพักเหนื่อย หรือรอรถประจำทาง บางแห่งในชนบทก็จะเป็นป้ายรถเมล์ หรือ ป้ายรถสองแถว
ระยะหลังเมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา เมื่อกลับไปเมืองไทยได้เห็นหลายโรงเรียนมีการสร้างศาลาให้เด็กๆได้นั่งเล่น หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงหรือช่วงหลังเลิกเรียนระหว่างรอผู้ปกครองมารับ อาจจะเป็นเพราะโรงเรียนมีการสร้างตึกเรียนเพิ่ม ทำให้พื้นที่ปลูกต้นไม้น้อยลง

หลายท่านไปเมืองไทยมาแล้วไม่ทราบว่าเคยได้ยิน หรือ ไปเห็น ไปสัมผัสสถานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ใช้คำว่า “ศาลา” นำหน้าชื่อ คือ

ศาลาเฉลิมไทย
เป็นโรงภาพยนตร์โรงแรกของกรุงเทพฯ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ เพื่อใช้เป็นโกดังเก็บของต่อมาให้ทำเป็นโรงละครมีการตกแต่งแบบไทยสวยงามมาก บรรจุที่นั่งได้ ๑,๓๐๐ ที่นั่ง เมื่อละครไม่เป็นที่นิยมก็เปลี่ยนมาเป็นโรงภาพยนตร์ แต่ปัจจุบันศาลาเฉลิมไทยได้ถูกรื้อถอนไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เพราะสถานที่ตั้งของอาคารไปบดบังทัศนียภาพของวัดราชนัดดารามวรวิหาร

ศาลาเฉลิมกรุง
สร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยและหรูหรา บรรจุผู้ชมมากกว่า ๒,๐๐๐คน ปัจจุบันยังเปิดดำเนินการอยู่ แต่จัดฉายภาพยนตร์และการแสดงสำคัญๆในโอกาสต่างๆ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร

ส่วน “ศาลาภาษาไทย” นั้นก็คือชื่อสถานที่ (ห้องเรียน) สำหรับเรียนภาษาไทย ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐) ได้เริ่มเปิดสอนภาษาไทยให้กับคนญี่ปุ่น ณ เมืองชิมิสุ จังหวัดชิสุโอกะ เดิมใช้ชื่อห้องเรียนว่า “สนุกกับภาษาไทย” ซึ่งขณะนั้นมีการประชาสัมพันธ์เฉพาะทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ก็มีผู้ให้ความสนใจมาสมัครเรียน แรกเริ่มจาก ๒ คน จนถึง ๕ คน มีครู ๑ คน แต่น่าเสียดายที่ “สนุกกับภาษาไทย” มีระยะเวลาที่ชิสุโอกะ เพียง๖เดือน ด้วยเหตุผลความจำเป็นจึงต้องย้ายมาเปิดห้องเรียนใหม่ที่ จ.โอซาก้า
ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ (ค.ศ.๒๐๐๑) ณ โอซาก้า ยังคงใช้ชื่อเดิมห้องเรียนว่า “สนุกกับภาษาไทย” เริ่มแรกจำนวนผู้เรียน ๕ คน ครู ๑ คน ห้องเรียน ๑ ห้อง หลังจากนั้นเริ่มมีทีมงานและเว็ปไซด์ ทำให้จำนวนผู้เรียนและครูเพิ่มขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อห้องเรียนใหม่เป็น “ศาลาภาษาไทย”
ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปี นอกจากทำการสอนภาษาไทยแล้ว ทางโรงเรียนก็ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมวิถีชืวิตคนไทย เช่น การสอนทำอาหารไทย, การสอนรำไทย , การสอนดนตรีไทย, การสอนแกะสลักผักผลไม้ไทย, การสอนจัดดอกไม้แบบไทย มีจำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมห้องเรียน จำนวนผู้เรียนและครูเพิ่มขึ้นจึงได้ขยายห้องเรียนจาก ๑ เป็น ๒ และเป็น ๔ ห้องในปัจุบัน ตลอดจนได้มีการปรับปรุงเว็ปไซด์
ณ วันนี้ “ศาลาภาษาไทย” จะก่อกำเนิดขึ้นมาไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เรียนทุกท่าน คณะครูและ ทีมงานจึงขอกราบขอบพระคุณ ท่านเป็นอย่างสููงมา ณ โอกาสนี้และหวังว่าในโอกาสต่อไปครู และทีมงาน คงจะได้รับความกรุณาจากท่านตลอดไป

อรุณวรรณ ช่างไม้
ครูใหญ่

「サーラーパーサータイについて」

サーラーパーサータイのサイトを訪問して下さった皆様、こんにちは。
多くの人が「サーラーパーサータイ」とは何かという疑問をいだかれるかと思います。タイ人はこの名前を聞くとタイ料理屋かタイの商品を扱うお店かと想像します。タイにも日本にも「サーラータイ」という名前を使ったレストランが沢山あるからです。こうした名前を使っているお店の多くはお店の雰囲気を出すために庭があり、シンボルとして、また食事をする席として「サーラー」があります。
日本の皆さんに「パーサータイ」というのは説明は要らないかと思います。が、「サーラー」という言葉に対しては ศ. ศาลา (タイ文字の一つ)という答えがあるかと思います。この答えにも日本の皆さんがタイ語に興味をお持ちなのだなと嬉しくなります。が、タイ語学習が好きであるとともに、タイの慣習や文化も含めたタイ人の暮らしも理解して頂けたらと思います。
サーラーはタイ人の暮らしとは切り離せない建築物です。庶民にもそうでない人にも。王宮だけでなく、お寺、学校、公園、病院、庭、田圃、砂浜、停留所(地方で)、船着き場などでも時代や流行に沿ってデザインされた様々な形のサーラーという建築物を見る事ができます。
タイは暑い国ですから、サーラーには日光を防ぐための屋根があります。一方、周囲は風を入れ、外の景色を見ることが出来るように開放されています。
サーラーは何のために建てられるのでしょう。何故、上で述べたような所にあるのでしょう。例えば、王宮にもあります。お庭の花を見に出る時に暑さを避けて休めるところです。また、王族の子供達が勉強するところでもあります(王様に関する映画で見た事があります)。
もし、皆さんがタイのお寺にいらっしゃることがありましたら、サーラーのないお寺はないことに気がつかれると思います。お寺にはサーラーがつきものと言っても良いでしょう。お寺のサーラーは説教を聞いたり、行事を執り行ったりするところで「プリアン(僧侶の仏学)のサーラー」と言います。
水辺のサーラーの多くは川や運河のほとりに建てられます。休憩したり、暑さを凌いだりするだけでなく、船着き場や船を停泊させておくところとしても使用します。
道ばたのサーラーの多くは歩道や通りのほとりに建てられ、休憩所であったり、車の待合所、バスやソンテオの停留所であったりします。
3、4年前、私がタイに帰省しました際、多くの学校で昼食後や放課後のお迎えを待つ間に子供達が座ったり遊べるようにサーラーを建てているところを見かけました。恐らく、校舎を増やしたため、木を植えるところが少なくなったからではないでしょうか。

皆さんがタイに行かれて、耳にされたり行かれたか分かりませんが、有名な場所やタイ人にも外国人にもよく知られているところで、名前の前に「サーラー」という言葉がついているところがあります。その一つは『サーラー・シャルーム・タイ』です。仏歴2483年にバンコクで初めて建てられた映画館です。倉庫として使われ、続いてタイ風の飾りが付いた大変美しい1300席ある劇場となり、芝居が流行らなくなると映画館に変わりました。が、仏歴2532年にワット・ラチャナダーの勝景を遮るとして、撤去されました。
もう一つは『サーラー・シャルーム・クルン』です。仏歴2475年、ラーマ7世の時代に建てられました。最新の絢爛たる映画館でした。2000人以上が収容でき、現在も映画が上映され、様々な催しが行われています。バンコクのチャルン・クルン通りにあります。

一方、「サーラー・パーサー・タイ」はタイ語を勉強するための場所(教室)の名前です。仏歴2543年(西暦2000年)、静岡県の清水にて日本の皆さんがタイ語を勉強できるように始まりました。当時は「楽しいタイ語教室」という教室名で、その地域の新聞のみの広報活動だけで始めました。受講生は2人から始まり5人に増え、先生は1人でした。が、大阪に引っ越して新しい教室を開かなければならなくなり、静岡での「楽しいタイ語教室」は6ヶ月間だけでした。
仏歴2544(西暦2001)大阪で以前の「楽しいタイ語教室」という名前を使い、生徒さん2人、先生1人で教室は始まりました。教室は1室でした。その後スタッフも増え、ホームページもでき、受講生も増えました。そこで教室の名前を「サーラー・パーサ・タイ」に変えたのです。この10年の間、タイ語だけでなく、タイの文化、慣習、生活を知っていただく活動をしてまいりました。例えば、タイ料理、タイ舞踊、タイ音楽、カービング、タイ生け花などです。教室を訪れてくださる方も、受講生も先生も増えてきましたので教室も現在は4室に増えました。ホームページもリニューアルされました。
今日の「サーラー・パーサ・タイ」は受講生の皆さん、先生方、スタッフのご支援が無ければ、やって来ることはできまませんでした。心より感謝申し上げます。今後とも皆様のご支援の程よろしくお願い致します。

校長 アルンワン・チャンマイ

(訳・kaori )

Posted by Kaori at

タイ語@レギュラーコース
タイ語@レギュラーコース

タイ語を少し勉強された方と文字の読み方も勉強します。受講生、随時募集中!

詳しくはこちら
タイ語@プライベート
タイ語@プライベート

自分のペースで勉強したい
方のためのクラス。曜日・
時間はご相談ください。

詳しくはこちら
タイ語@月一コース
タイ語@月一コース

月に一回ぐらいなら通えるという方のクラスです。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ文字の書き方・読み方コース
タイ文字の書き方・読み方コース

タイ語の読み書きを極めたい方のクラスです。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ語@発音ブラッシュアップコース
タイ語@発音ブラッシュアップコース

タイ人に通じる発音・声調のコツをわかりやすく。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ語@旅語会話
タイ語@旅語会話

旅先の様々な場面で応用できる会話力の基礎を身につけます。新規募集中!

詳しくはこちら
タイポップスで楽しく学ぶ
タイポップスで楽しく学ぶ

タイポップスの歌詞を覚えながら、楽しく学びます。新規募集中!

詳しくはこちら
タイ料理レシピで覚えるタイ語
タイ料理レシピで覚えるタイ語

タイ料理の作り方を覚えて楽しくタイ語を学びます。募集中!

詳しくはこちら
タイ伝統音楽教室
タイ伝統音楽教室

タイ伝統音楽はソロや合奏形式で演奏します。子供から大人まで。

詳しくはこちら