タイ伝統音楽教室が始まりました
2010.04.29 [ お知らせ ]

タイを訪れると、ホテルのロビーや食事の時など、タイの伝統音楽を耳にする機会が多いと思います。日本にはない独特の形の楽器、独特のリズム等々、「見る」「聴く」だけでお腹いっぱいですね。

本教室ではさらに

「 さわる 」 
「 感じる 」
「 楽しむ 」

ことを体験していただきたいと思っています。
楽器に触れてみて、タイのリズムを感じ、合奏で人と息を合わせることを楽しんでほしいと思っています。技術・レベルの向上は各々のペースで。
自然と笑いがでてくるような雰囲気を大切にしながらレッスンをしていきたいと思っています。どうぞお気軽にご参加ください。

Posted by Kaori at

Meaw先生のエッセー「ソンクラーン」
2010.04.13 [ お知らせ / コラム ]

เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของฤดูร้อนในประเทศไทย แต่ถึงแม้จะร้อนมากขนาดไหนแต่ฤดูร้อนก็มีผลไม้อร่อยมากก็คือ มะม่วงหลากหลายชนิด ทั้งมะม่วงกินแบบดิบ(มะม่วงยังเขียวอยู่) และกินแบบสุก (มะม่วงสีเหลือง) มะม่วงแบบสุกนิยมเอามากินกับข้าวเหนียว เรียกว่า “ข้าวเหนียวมะม่วง”
ช่วงนี้ถ้าไปดูตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นก็อาจจะเจอมะม่วงไทยวางขายอยู่ ราคาลูกละ ๒๙๘ -๕๐๐ เยน มะม่วงไทยรสชาติหวานกลมกล่อมกินคู่กับข้าวเหนียวที่หุงด้วยกะทิเข้ากันมากเวลากิเพลินจนไม่อยากวางช้อน เสริฟ์คู่กับชาเขียวญี่ปุ่นก็ไม่แพ้ขนมมั่นจู่
ถึงแม้ว่าเดือนเมษายนอากาศจะร้อนมากจนทำให้หลายคนไม่อยากไปเที่ยวเมืองไทยในช่วงนี้ แต่เมืองไทยก็ยังมีประเพณีเก่าแก่ที่สนุกสนานช่วยคลายความร้อนได้ คือ การเล่นน้ำ เรียกว่า“สงกรานต์” คนต่างชาติจะเรียกกันว่า “WATER FESTIVAL”
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวขึ้น ย่างขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์เคลื่อนที่เข้าสู่ราศีใหม่ หมายถึง วันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางราชการจึงเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคม
วันสงกรานต์ไม่ใช่แต่จะเล่นสาดน้ำกันอย่างเดียว แต่ยังมีกิจกรรมหลายอย่างก่อนที่จะเล่นสาดน้ำกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนวันสงกรานต์ก็จะทำความสะอาดบ้าน เตรียมเสื้อผ้าใหม่ที่จะใส่ไปทำบุญ เตรียมอาหารไปทำบุญ ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแดง และกาละแมเมื่อถึงวันสงกรานต์เริ่มด้วยการตักบาตรตอนเช้า ทำบุญกระดูกให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ(ตายไปแล้ว) สรงน้ำพระพุทธรูป(รดน้ำพระพุทธรูป) บางแห่งก็มีการขนทรายมาก่อเจดีย์ในวัด การปล่อยนก ปล่อยปลา (เพื่อให้ไปสู่ที่อิสระ) การรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเพื่อขอพร หลังจากนั้นก็เล่นรดน้ำกัน(สาดน้ำ) การเล่นน้ำจะเล่นหลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว ก็คือช่วงบ่าย เวลาเล่นน้ำจะใช้ “น้ำอบ”(น้ำหอมไทย)ผสมน้ำสะอาดแล้วรดกันเบาๆ
ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไปหลายคนต้องเข้าไปทำงานในเมือง จึงถือวันสงกรานต์เป็น “วันครอบครัว” ทุกคนจะเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อไปทำบุญและพบปะกับครอบครัว และญาติ
ครูเหมียว

Posted by Kaori at

当教室は10周年を迎えました
2010.03.29 [ お知らせ / ご挨拶 ]

お陰様をもちまして、当教室は今年10周年を迎えることができました。これも皆さんの暖かいご支援があってのことです。心より感謝申し上げます。スタッフ一同なお一層の努力して参ります。今後とも何卒よろしくお願い致します。
10周年記念の meaw 先生のエッセイです。


ครบรอบปีที่ ๑๐ ศาลาภาษาไทย

เล่าเรื่อง ศาลาภาษาไทย

สวัสดีค่ะ ยินต้อนรับท่านผู้เข้าเยี่ยมชมเว็ปไซด์ ศาลาภาษาไทย
หลายคนคงมีคำถามว่า “ ศาลาภาษาไทย ” คืออะไร สำหรับคนไทยที่ฟังชื่อนี้แล้ว คงจะจินตนาการว่าน่าจะเป็นร้านอาหารไทยหรือร้านขายสินค้าไทยเพราะทั้้้้งที่เมืองไทยและในญี่ปุ่นมีร้านอาหารไทยหลายร้านที่ใช้ชื่อว่า“ศาลาไทย” ส่วนใหญ่ร้านอาหารไทยที่มีชื่อแบบนี้ก็จะมีการตกแต่งบรรยากาศ ร้านเป็นแบบสวนอาหารและจะต้องมี “ศาลา” เป็นสัญลักษณ์หรือเป็นที่นั่งรับประทานอาหาร
สำหรับคนญี่ปุ่นคำว่า “ภาษาไทย” นั้นคงไม่ต้องอธิบาย แต่สำหรับคำว่า “ศาลา” นั้นมักจะได้รับคำตอบว่า ศ. ศาลา(พยัญชนะภาษาไทยตัวหนึ่ง) เมื่อได้รับคำตอบเช่นนี้ก็รู้สึกดีใจว่าอย่างน้อยคนญี่ปุ่นมีความสนใจในการเรียนภาษาไทยมาก แต่เมื่อมีความรักในการเรียนภาษาไทย แล้วก็อยากให้เข้าใจวิถีชีวิตคนไทย รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมไทยด้วย
จริงๆแล้วศาลานั้นเป็นสถาปัตยกรรมของไทยที่มีคู่มากับวิถีชิวิตคนไทย แต่โบราณแล้วทั้งสามัญชนธรรมดา และ เจ้านายชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นพระราชวัง , วัด , โรงเรียน , สวนสาธารณะ , โรงพยาบาล , สวนในบ้าน , ทุ่งนา , ชายทะเล , ท่ารถ(ที่ขึ้นรถประจำทางในต่างจังหวัด) , ท่าเรือ ก็สามารถพบเห็นสถาปัตยกรรม ศาลา ได้เกือบทุกแห่งที่กล่าวมาซึ่งแต่ละสถาน ที่ก็จะมีลักษณะรูปร่าง ชื่อเรียกการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัยและความนิยม เพราะว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อนดังนั้นการสร้างศาลาจึงต้องมีหลังคาเพื่อบังแสงแดด ส่วนรอบตัวศาลาจะเปิดโล่งเพื่อให้รับลมและสามารถมองทัศนียภาพด้านนอกได้
สร้างศาลาเพื่ออะไร ทำไมต้องมีศาลาในสถานที่ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เช่นในพระราชวังก็อาจจะมี ศาลาชมสวน เป็นที่นั่งพักผ่อนหลบร้อนขณะที่ออกไปดูดอกไม้ในสวนของเจ้านาย เป็นที่ศึกษาเล่าเรียน(ห้องเรียน)ของลูกหลานเจ้านายชั้นสูง (เคยดูจากหนังเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์)
ถ้าท่านมีโอกาสได้แวะเข้าไปชมวัดต่างๆในเมืองไทย ก็จะพบว่าไม่มีวัดไหนที่ไม่มีศาลาอาจจะพูดได้ว่าวัดเป็นคู่แฝดกับศาลาก็ว่าได้ ศาลาในวัดนั้นจะใช้เป็นที่สำหรับฟังเทศนา หรือ ประกอบพิธีทางศาสนา จะเรียกว่า “ศาลาการเปรียญ”
ศาลาริมน้ำ ส่วนใหญ่จะสร้างไว้ริมแม่น้ำ , ลำคลอง นอกจากเอาไว้นั่งพักผ่อน หลบร้อนแล้ว ก็ใช้เป็นท่าสำหรับลงเรือ , จอดเรือ
ศาลาริมทาง ส่วนใหญ่จะสร้างไว้ริมทางเดิน ริมถนน มักจะเป็นที่นั่งพักเหนื่อย หรือรอรถประจำทาง บางแห่งในชนบทก็จะเป็นป้ายรถเมล์ หรือ ป้ายรถสองแถว
ระยะหลังเมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา เมื่อกลับไปเมืองไทยได้เห็นหลายโรงเรียนมีการสร้างศาลาให้เด็กๆได้นั่งเล่น หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงหรือช่วงหลังเลิกเรียนระหว่างรอผู้ปกครองมารับ อาจจะเป็นเพราะโรงเรียนมีการสร้างตึกเรียนเพิ่ม ทำให้พื้นที่ปลูกต้นไม้น้อยลง

หลายท่านไปเมืองไทยมาแล้วไม่ทราบว่าเคยได้ยิน หรือ ไปเห็น ไปสัมผัสสถานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ใช้คำว่า “ศาลา” นำหน้าชื่อ คือ

ศาลาเฉลิมไทย
เป็นโรงภาพยนตร์โรงแรกของกรุงเทพฯ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ เพื่อใช้เป็นโกดังเก็บของต่อมาให้ทำเป็นโรงละครมีการตกแต่งแบบไทยสวยงามมาก บรรจุที่นั่งได้ ๑,๓๐๐ ที่นั่ง เมื่อละครไม่เป็นที่นิยมก็เปลี่ยนมาเป็นโรงภาพยนตร์ แต่ปัจจุบันศาลาเฉลิมไทยได้ถูกรื้อถอนไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เพราะสถานที่ตั้งของอาคารไปบดบังทัศนียภาพของวัดราชนัดดารามวรวิหาร

ศาลาเฉลิมกรุง
สร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยและหรูหรา บรรจุผู้ชมมากกว่า ๒,๐๐๐คน ปัจจุบันยังเปิดดำเนินการอยู่ แต่จัดฉายภาพยนตร์และการแสดงสำคัญๆในโอกาสต่างๆ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร

ส่วน “ศาลาภาษาไทย” นั้นก็คือชื่อสถานที่ (ห้องเรียน) สำหรับเรียนภาษาไทย ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ (ค.ศ.๒๐๐๐) ได้เริ่มเปิดสอนภาษาไทยให้กับคนญี่ปุ่น ณ เมืองชิมิสุ จังหวัดชิสุโอกะ เดิมใช้ชื่อห้องเรียนว่า “สนุกกับภาษาไทย” ซึ่งขณะนั้นมีการประชาสัมพันธ์เฉพาะทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ก็มีผู้ให้ความสนใจมาสมัครเรียน แรกเริ่มจาก ๒ คน จนถึง ๕ คน มีครู ๑ คน แต่น่าเสียดายที่ “สนุกกับภาษาไทย” มีระยะเวลาที่ชิสุโอกะ เพียง๖เดือน ด้วยเหตุผลความจำเป็นจึงต้องย้ายมาเปิดห้องเรียนใหม่ที่ จ.โอซาก้า
ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ (ค.ศ.๒๐๐๑) ณ โอซาก้า ยังคงใช้ชื่อเดิมห้องเรียนว่า “สนุกกับภาษาไทย” เริ่มแรกจำนวนผู้เรียน ๕ คน ครู ๑ คน ห้องเรียน ๑ ห้อง หลังจากนั้นเริ่มมีทีมงานและเว็ปไซด์ ทำให้จำนวนผู้เรียนและครูเพิ่มขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อห้องเรียนใหม่เป็น “ศาลาภาษาไทย”
ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปี นอกจากทำการสอนภาษาไทยแล้ว ทางโรงเรียนก็ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมวิถีชืวิตคนไทย เช่น การสอนทำอาหารไทย, การสอนรำไทย , การสอนดนตรีไทย, การสอนแกะสลักผักผลไม้ไทย, การสอนจัดดอกไม้แบบไทย มีจำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมห้องเรียน จำนวนผู้เรียนและครูเพิ่มขึ้นจึงได้ขยายห้องเรียนจาก ๑ เป็น ๒ และเป็น ๔ ห้องในปัจุบัน ตลอดจนได้มีการปรับปรุงเว็ปไซด์
ณ วันนี้ “ศาลาภาษาไทย” จะก่อกำเนิดขึ้นมาไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เรียนทุกท่าน คณะครูและ ทีมงานจึงขอกราบขอบพระคุณ ท่านเป็นอย่างสููงมา ณ โอกาสนี้และหวังว่าในโอกาสต่อไปครู และทีมงาน คงจะได้รับความกรุณาจากท่านตลอดไป

อรุณวรรณ ช่างไม้
ครูใหญ่

Posted by Kaori at

クンチャイの育て方

家庭菜園で作るタイの野菜とハーブ」の第3回目はクンチャイです。

クンチャイクンチャイは、家庭菜園で作れる簡単で育てやすいハーブです。
1年中収穫できて、三つ葉の代わりや、ネギの代わりに汁物に、サラダに使ったり、和洋何にでも利用できる万能野菜の一つです。
タイ料理では、もちろんヤムには欠かせないハーブの一つです。タイ料理は好きだけど、パクチーが苦手と言う方は、ぜひパクチーの代替に使ってみてください。

Meaw先生のエッセー「子供の日と先生の日」

วันเด็ก และ วันครู
เดือนมกราคมมีวันสำคัญอยู่ ๒ วัน คือ
วันเด็กแห่งชาติ เดิมวันเด็กแห่งชาติตรงกับวันที่ ๓ ตุลาคม ของทุกปี เนื่องจากเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ไม่สะดวก รัฐบาลจึงเปลี่ยน
มาเป็นวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคมของทุกปี (ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๙ มกราคม) วันเด็กของไทยจะไม่มีอะไรเป็นสัญญลักษณ์
เหมือนวันเด็กญี่ปุ่น แต่รัฐบาล และเอกชนจะร่วมกันจัดกิจกรรมพิเศษ แจกของขวัญ เช่น เปิดให้เด็กๆได้เข้าไปในที่ประชุมรัฐสภา, ได้ลองนั่งที่โต๊ะทำงานของนายกรัฐมนตรี
วันครู จะตรงกับวันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปี เด็กๆชอบวันนี้เพราะถ้าไม่ตรงกับวันเสาร์ก็จะได้หยุดเรียนอีก ๑ วัน แต่คุณครูไม่ได้หยุด คุรครูทุกคนจะไปร่วมทำพิธีวันครู คือ มีพิธีทางศาสนามีการสวดคำไหว้ครูเป็นภาษาบาลี และ ปฏิญาณตนเป็นครูที่ดี และระลึกถึงความดีของครูที่สั่งสอนมา
ดอกไม้ประจำวันครูคือ “ดอกกล้วยไม้” เพราะดอกกล้วยไม้
เป็นพืชที่ขึ้นในที่สูง ทนต่อสาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย
เปรียบเหมือนครูที่ต้องอดทนต่อสู้และอุทิศตนเพื่อการศึกษา
และกว่ากล้วยไม้จะออกดอกให้ชื่นชม ต้องใช้เวลานาน
ต้องดูแลเอาใจใส่ เช่นเดียวกับครูแต่ละคน กว่าจะสั่งสอนศิษย์ให้
เจริญก้าวหน้าในชีวิตก็ต้องใช้เวลา หลายประเทศมีวันครู
ญี่ปุ่นมีวันครูไหม ตรงกับเดือนอะไร วันที่เท่าไร

Posted by Kaori at

ミントの育て方

家庭菜園で作るタイの野菜とハーブ」の第2回目はミントです。

ミントミントは家庭菜園で作るのも簡単で、たいへん育てやすいものです。
お家で育てると、ラープ等にもたっぷり使えますし、ベトナム料理にも使えますね。ハーブティーにしてもおいしいです。
是非、育ててみてください。

新年のご挨拶
2010.01.07 [ お知らせ / ご挨拶 ]

ขึ้นปีที่ ๑๐ ของศาลาภาษาไทย
  สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ขอให้ทุกคนประสบแต่ความสุข
สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ สุขภาพแข็งแรง หน้าที่
การงานก้าวหน้า รวมทั้งภาษาไทยของทุกท่านได้ก้าวหน้าขึ้นด้วย
  ได้รับ ส.ค.ส. จากนักเรียนหลายท่านที่เขียนอวยพรเป็น
ภาษาไทย แล้วรู้สึกมีความสุขและปลื้มใจมาก นี่เป็นสิ่งหนึ่งซึ่ง
แสดงว่าความสามารถในภาษาไทยของท่านพัฒนาขึ้นมาก
  ศาลาภาษาไทยผ่านร้อนผ่านหนาวจะมีอายุครบ ๑๐ ปีแล้ว เปรียบเสมือนยังเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาอยู่ ซึ่งยังต้องเรียนรู้ ,
  ปรับปรุง,พัฒนาเพื่อเติบโตต่อไป ยังไงก็ต้องขอขอบคุณนักเรียนทุกท่าน ครูผู้สอน และทีมงานที่เป็นกำลังใจ ให้ประสบการณ์
และข้อเสนอแนะที่ดี ที่จะทำให้ศาลาภาษาไทยเติบโตต่อไป
  สำหรับปีใหม่นี้ศาลาภาษาไทยก็มีสิ่งที่คิดปรารถนาคือ อยากทำ “ศาลาสมุดไทย” เป็นสถานที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเมืองไทย
ทุกเรื่อง ทุกรูปแบบ เพื่อให้คนที่สนใจ รักเมืองไทย ได้มาพบปะ
สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน หวังว่าคงได้รับกำลังใจจากทุกท่าน
อรุณวรรณ ช่างไม้

タイの動物、花、建築物が決定

去る9月、タイの動物、花、建築物が決まりました。
タイであることの自信、またみんなが一つになるために
これらがタイのシンボルとして決定されました。
動物:タイ象
花:クーン(ゴールデンシャワー)
建築物:サーラー
ポスターも印刷されましたので、どこかで目にすることも
あるかもしれませんね。

新コラム 「家庭菜園で作るタイ野菜とハーブ」始めました
2009.12.03 [ お知らせ ]

プランターで育てる失敗しないタイ野菜とハーブの栽培方法を紹介する新コラム
家庭菜園で作るタイ野菜とハーブ」を始めました。

タイ料理を作るときにあったらな、と思うタイの野菜やハーブをプランターで栽培してみました。発芽しなかったり、大きくならなかったり、虫に食べられたり、そんな経験も書きながら栽培方法等を紹介します。参考に皆さんもプランターで栽培してみてください。

第1回 レモングラス
第2回 ミント
第3回 クンチャイ

Posted by Admin at

レモングラスの育て方

プランターで育てる失敗しないタイ野菜の栽培方法を綴った新コラム
家庭菜園で作るタイの野菜」を始めます。

レモングラスタイ料理を作るときにあったらな、と思うタイ野菜をプランターで栽培してみました。発芽しなかったり、大きくならなかったり、虫に食べられたり、そんな経験も書きながら栽培方法等を紹介します。参考に皆さんもプランターで栽培してみてください。

第一回目は、トムヤムクンには欠かせない食材としてお馴染みのレモングラスです。

タイ語@レギュラーコース
タイ語@レギュラーコース

タイ語を少し勉強された方と文字の読み方も勉強します。受講生、随時募集中!

詳しくはこちら
タイ語@プライベート
タイ語@プライベート

自分のペースで勉強したい
方のためのクラス。曜日・
時間はご相談ください。

詳しくはこちら
タイ語@月一コース
タイ語@月一コース

月に一回ぐらいなら通えるという方のクラスです。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ文字の書き方・読み方コース
タイ文字の書き方・読み方コース

タイ語の読み書きを極めたい方のクラスです。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ語@発音ブラッシュアップコース
タイ語@発音ブラッシュアップコース

タイ人に通じる発音・声調のコツをわかりやすく。
1名様から随時開講!

詳しくはこちら
タイ語@旅語会話
タイ語@旅語会話

旅先の様々な場面で応用できる会話力の基礎を身につけます。新規募集中!

詳しくはこちら
タイポップスで楽しく学ぶ
タイポップスで楽しく学ぶ

タイポップスの歌詞を覚えながら、楽しく学びます。新規募集中!

詳しくはこちら
タイ料理レシピで覚えるタイ語
タイ料理レシピで覚えるタイ語

タイ料理の作り方を覚えて楽しくタイ語を学びます。募集中!

詳しくはこちら
タイ伝統音楽教室
タイ伝統音楽教室

タイ伝統音楽はソロや合奏形式で演奏します。子供から大人まで。

詳しくはこちら